วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การต่อลำโพงแบบต่าง

          เสียงเป็นคลื่นตามยาว   เสียงแหลมและทุ้มขึ้นกับความถี่  ส่วนสียงดังหรือค่อยขึ้นอยู่กับขนาดแอมพลิจูดของคลื่นนั้น   เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า  ไมโครโฟนมีหน้าที่แปลงสัญญาณเสียงให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า และนำสัญญาณที่ได้ไปบันทึกลงบนเทปคาสเซ็ท  แผ่น CD    หรือเครื่องเล่น MP3 ซึ่งกำลังฮิตกันอยู่ในปัจจุบัน  เมื่อเราต้องการจะนำเสียงที่บันทึกกลับออกมา   ภายในเครื่องเล่นเหล่านี้จะมีหัวอ่านคอยอ่านสัญญาณทางไฟฟ้าที่บันทึกอยู่ในเนื้อเทป  ซึ่งในขณะที่อ่านยังเป็นสัญญาณที่อ่อนมาก  จึงต้องนำเข้าเครื่องขยายสัญญาณก่อน เมื่อได้สัญญาณที่แรงพอแล้วจึงขับออกทางลำโพง กลายเป็นเสียงออกมา           
          ส่วนสำคัญที่สุดของเครื่องเล่นเหล่านี้ก็คือลำโพง  โดยหน้าที่สำคัญสุดของลำโพงคือ  เปลี่ยนสัญญาณทางไฟฟ้าที่ได้มาจากเครื่องขยายเป็นสัญญาณเสียง  ลำโพงที่ดีจะต้องสร้างเสียงให้เหมือนกับต้นฉบับเดิมมากที่สุด  โดยมีการผิดเพี้ยนน้อยที่สุด
           
                   เครื่องขยายเสียงจะมีจุดต่อสัญญาณออก อยู่ด้านหลังของเครื่องฯ อาจมีหลายลักษณะ แต่ลักษณะหนึ่งที่นิยม ใช้จะเป็นลักษณะที่มี จำนวน โอห์ม มาให้เลือกต่อ เพื่อความเหมาะสม ระหว่างตัวลำโพงกับเครื่องขยายเสียง การต่อลำโพงอาจแบ่งเป็น 2 วิธี คือ การต่อลำโพงตัวเดียว และการต่อลำโพงหลายตัว

การต่อลำโพงตัวเดียว
           การต่อลำโพงตัวเดียวเป็นการต่อตรง เช่น ลำโพงมีค่าความต้านทาน 8 โอห์ม ก็ให้ต่อสายเส้นหนึ่งของลำโพงเข้ากับ 0 โอห์ม อีกเส้นต่อที่ 8 โอห์ม

การต่อลำโพงหลายตัว
           การต่อลำโพงหลายตัวกับเครื่องขยายเสียงอาจกระทำได้ 3 วิธี คือ
การต่อแบบอนุกรม การต่อแบบขนาน และการต่อแบบผสม
ซึ่งการต่อแต่ละแบบมีความจำเป็นต้องรู้จักคิดคำนวณค่า
ความต้านทานกับพลังงานไฟฟ้าความถี่เสียงที่ออกมาจากเครื่องขยายเสียง
ดังนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น