วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การแยกเสียงของลำโพง

                   การทำงานของคอยส์เสียงใช้หลักการของแม่เหล็กไฟฟ้า โดยได้จากกฎของแอมแปร์    เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าไปในขดลวดหรือคอยส์  ภายในคอยส์จะเกิดสนามแม่เหล็กขึ้น    ซึ่งจะเหนี่ยวนำให้แท่งเหล็กที่สอดอยู่เป็นแม่เหล็กไฟฟ้า  ปกติแม่เหล็กจะมีขั้วเหนือและขั้วใต้   ถ้านำแม่เหล็กสองแท่งมาอยู่ใกล้ๆกัน  โดยนำขั้วเดียวกันมาชิดกันมันจะผลักกัน แต่ถ้าต่างขั้วกันมันจะดูดกัน   ด้วยหลักการพื้นฐานนี้  จึงติดแม่เหล็กถาวรล้อมคอยส์เสียงและแท่งเหล็กไว้  เมื่อมีสัญญาณทางไฟฟ้าหรือสัญญาณเสียงที่เป็นไฟฟ้ากระแสสลับป้อนสัญญาณให้กับคอยส์เสียง  ขั้วแม่เหล็กภายในคอยส์เสียงจะเปลี่ยนทิศทางตามสัญญาณสลับที่เข้ามา  ทำให้คอยส์เสียงขยับขึ้นและลง ซึ่งจะทำให้ใบลำโพงขยับเคลื่อนที่ขึ้นและลงด้วย  ไปกระแทกกับอากาศ เกิดเป็นคลื่นเสียงขึ้น  ถ้าเป็นเครื่องเสียงระบบโมโน ลำโพงจะมีอันเดียว แต่สำหรับเครื่องเสียงที่เป็นระบบเสตอริโอ ลำโพงจะมี 2  ข้าง คือข้างซ้าย และข้างขวา
รูป   ขั้วไฟฟ้าของลำโพงจะมีไว้ 2 ขั้ว  ไว้ต่อกับเครื่องขยายเสียง
         เครื่องขยายเสียงทุกประเภท  จะต่อเข้ากับสัญญาณไฟฟ้ากระแสสลับ  ซึ่งกระแสไฟฟ้ามีการเคลื่อนที่สลับทิศทางอยู่ตลอดเวลา   แต่ก่อนที่จะป้อนเข้าลำโพง  สัญญาณที่อ่านได้จากเทปแม่เหล็ก แผ่นซีดี  หรือ เครื่อง MP3  จะต้องได้รับการขยายสัญญาณให้แรงขึ้นก่อน  จึงจะสามารถขับออกทางลำโพงได้
        ใบลำโพงทำด้วยกรวยกระดาษ  ติดอยู่กับคอยส์เสียง เมื่อคอยส์เสียงสั่นขึ้นและลงตามสัญญาณไฟฟ้ากระแสสลับ  มันจะทำให้ใบลำโพงสั่นขึ้นลงด้วย  ใบลำโพงจะติดอยู่บนสไปเดอร์  ที่ทำหน้าที่เหมือนสปริง  คอยดึงใบลำโพงที่สั่นสะเทือนให้กลับเข้าสู่ตำแหน่งเดิมเสมอ  เมื่อไม่มีสัญญาณไฟฟ้าป้อนเข้าลำโพง

การต่อลำโพงแบบต่าง

          เสียงเป็นคลื่นตามยาว   เสียงแหลมและทุ้มขึ้นกับความถี่  ส่วนสียงดังหรือค่อยขึ้นอยู่กับขนาดแอมพลิจูดของคลื่นนั้น   เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า  ไมโครโฟนมีหน้าที่แปลงสัญญาณเสียงให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า และนำสัญญาณที่ได้ไปบันทึกลงบนเทปคาสเซ็ท  แผ่น CD    หรือเครื่องเล่น MP3 ซึ่งกำลังฮิตกันอยู่ในปัจจุบัน  เมื่อเราต้องการจะนำเสียงที่บันทึกกลับออกมา   ภายในเครื่องเล่นเหล่านี้จะมีหัวอ่านคอยอ่านสัญญาณทางไฟฟ้าที่บันทึกอยู่ในเนื้อเทป  ซึ่งในขณะที่อ่านยังเป็นสัญญาณที่อ่อนมาก  จึงต้องนำเข้าเครื่องขยายสัญญาณก่อน เมื่อได้สัญญาณที่แรงพอแล้วจึงขับออกทางลำโพง กลายเป็นเสียงออกมา           
          ส่วนสำคัญที่สุดของเครื่องเล่นเหล่านี้ก็คือลำโพง  โดยหน้าที่สำคัญสุดของลำโพงคือ  เปลี่ยนสัญญาณทางไฟฟ้าที่ได้มาจากเครื่องขยายเป็นสัญญาณเสียง  ลำโพงที่ดีจะต้องสร้างเสียงให้เหมือนกับต้นฉบับเดิมมากที่สุด  โดยมีการผิดเพี้ยนน้อยที่สุด
           
                   เครื่องขยายเสียงจะมีจุดต่อสัญญาณออก อยู่ด้านหลังของเครื่องฯ อาจมีหลายลักษณะ แต่ลักษณะหนึ่งที่นิยม ใช้จะเป็นลักษณะที่มี จำนวน โอห์ม มาให้เลือกต่อ เพื่อความเหมาะสม ระหว่างตัวลำโพงกับเครื่องขยายเสียง การต่อลำโพงอาจแบ่งเป็น 2 วิธี คือ การต่อลำโพงตัวเดียว และการต่อลำโพงหลายตัว

การต่อลำโพงตัวเดียว
           การต่อลำโพงตัวเดียวเป็นการต่อตรง เช่น ลำโพงมีค่าความต้านทาน 8 โอห์ม ก็ให้ต่อสายเส้นหนึ่งของลำโพงเข้ากับ 0 โอห์ม อีกเส้นต่อที่ 8 โอห์ม

การต่อลำโพงหลายตัว
           การต่อลำโพงหลายตัวกับเครื่องขยายเสียงอาจกระทำได้ 3 วิธี คือ
การต่อแบบอนุกรม การต่อแบบขนาน และการต่อแบบผสม
ซึ่งการต่อแต่ละแบบมีความจำเป็นต้องรู้จักคิดคำนวณค่า
ความต้านทานกับพลังงานไฟฟ้าความถี่เสียงที่ออกมาจากเครื่องขยายเสียง
ดังนี้